top of page

 

มาตรฐานกระดาษรหัสชุด A


    มาตรฐานขนาดกระดาษชุด A เป็นมาตรฐานในระบบ ISO ซึ่งเป็นระบบเมตริก จะกำหนดรหัส A0 ให้มีขนาดพื้นที่เท่ากับ 1 ตารางเมตร จากการคำนวณจะได้ขนาดของ A0 เท่ากับ 841 x 1189 มิลลิเมตร เมื่อทำการแบ่งครึ่งจากขนาด A0 ดังกล่าว ขนาดใหม่ที่ได้ตั้งเป็นรหัส A1 หากทำการแบ่งไปเรื่อย ๆ ก็จะได้รหัส A2, A3, A4 .... มาตรฐานชุดนี้ เป็นมาตรฐานที่สร้างความคุ้นเคยและถูกนำใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะขนาด A4 ซึ่งมีขนาด 210 x 297 มิลลิเมตร เป็นขนาดของกระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้กันมาก กระดาษหัวจดหมาย หนังสือ นิตยสาร ฯลฯ และถ้านำกระดาษขนาด A4 ที่มีน้ำหนักเท่ากับ 80 กรัมต่อตารางเมตร กระดาษมาชั่งจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 5 กรัมพอดี ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการหาน้ำหนักของกองกระดาษดังกล่าวโดยใช้วิธีนับจำนวนแผ่น

 

ขนาดกระดาษชุด A

A0 841  x 1189 mm.84.1 x 118.9 cm.33.11  x  46.81 in.

A1 594  x   841 mm.59.4 x 84.1 cm.23.39  x  33.11 in.

A2 420  x   594 mm.42 x 59.4 cm.16.54  x  23.39 in.

A3 297  x   420 mm.29.7 x 42 cm.11.69  x  16.54 in.

A4 210  x   297 mm.21 x 29.7 cm.8.27  x  11.69 in.

A5148  x   210 mm.14.8 x 21 cm.5.83  x   8.27 in.

A6105  x   148 mm.10.5 x 14.8 cm.4.13  x   5.83 in.

A774  x   105 mm.7.4 x 10.5 cm.2.91  x   4.13 in.

A852  x    74 mm.5.2 x 7.4 cm.2.05  x   2.91 in.

A937  x    52 mm.3.7 x 5.2 cm.1.46  x   2.05 in.

A1026  x    37 mm.2.6 x 3.7 cm.1.02  x   1.46 in.

มาตรฐานกระดาษรหัสชุด B

    มาตรฐานรหัสชุด B นี้จะเป็นที่คุ้นเคยน้อยกว่ารหัสชุด A วิธีการกำหนดขนาดในรหัสชุดนี้เริ่มโดยให้รหัส B1 มีขนาดอยู่ระหว่าง A0 กับ A1 และให้มีระยะด้านสูงเท่ากับ 1 เมตร ทำให้ด้านกว้างเท่ากับ 0.707 เมตร (มาจากข้อกำหนด ความสูงหารความกว้างเท่ากับสแควร์รูทของสอง) ดังนั้น ขนาดของรหัสชุด B จะมีด้านใดด้านหนึ่ง เป็นครึ่งหนึ่ง หรือหนึ่งในสี่ หรือหนึ่งในแปดของ 1 เมตรไปเรื่อย ๆ งานที่นิยมใช้มาตรฐานรหัสชุดนี้คืองานโปสเตอร์ หนังสือ (ใช้ B5) พาสปอร์ต ซองเอกสาร

 

ขนาดกระดาษชุด B

B0 1000  x 1414 mm.100 x 141.4 cm.39.37  x  55.67 in.

B1 707  x 1000 mm.70.7 x 100 cm.27.83  x  39.37 in.

B2 500  x   707 mm.50 x 70.7 cm.19.68  x  27.83 in.

B3 353  x   500 mm.35.3 x 50 cm. 13.90  x  19.68 in.

B4  250  x   353 mm.25 x 35.3 cm.   9.84  x  13.90 in.

B5 176  x   250 mm.17.6 x 25 cm.  6.93  x    9.84 in.

B6 125  x   176 mm.12.5 x 17.6 cm.  4.92  x    6.93 in.

B7   88  x   125 mm.8.8 x 12.5 cm.  3.46  x    4.92 in.

B8   62  x     88 mm.6.2 x 8.8 cm.2.44  x    3.46 in.

B9   44  x     62 mm.4.4 x 6.2 cm.1.73  x    2.44 in.

B10   31  x     44 mm.3.1 x 4.4 cm.1.22  x    1.73 in.

มาตรฐานกระดาษรหัสชุด C

    รหัสชุดนี้มีไว้ใช้กำหนดขนาดของซองใส่เอกสาร ที่เลขเดียวกัน รหัสของ C จะใหญ่กว่าของ A แต่เล็กกว่าของ B ดังนั้น กระดาษจดหมาย A4 จะสามารถใส่ลงในซองขนาด C4 
และซองขนาด C4 ก็จะใส่ลงในซอง B4 ได้พอเหมาะ

ขนาดกระดาษชุด C

C0 917  x 1297 mm.91.7 x 129.7 cm.36.10  x  51.06 in.

C1 648  x 917 mm.64.8 x 91.7 cm.25.51  x  36.10 in.

C2458  x 648 mm.45.8 x 64.8 cm.18.03  x  25.51 in.

C3 324  x 458 mm.32.4 x 45.8 cm. 12.76  x  18.03 in.

C4  229  x 324 mm.22.9 x 32.4 cm.    9.02  x  12.76 in.

C5 162  x 229 mm.16.2 x 22.9 cm.  6.38  x    9.02 in.

C6 114  x 162 mm.11.4 x 16.2 cm.  4.49  x    6.38 in.

C7      81  x 114 mm.8.1 x 11.4 cm.   3.19  x    4.49 in.

C8 57  x 81 mm.5.7 x 8.1 cm.2.24  x    3.19 in.

C9 40  x 57 mm.4 x 5.7 cm.  1.57  x    2.24 in.

C10   28  x 40 mm.2.8 x 4 cm.1.10  x    1.57 in.

 

วิธีหาจำนวนหน่วยเป็น mm. cm. in.

เช่น
1000 มิลลิเมตร. หาน่วยเป็นเซ็นติเมตร. เอา 1000 มิล. หารด้วย 10 จะได้ = 100 เซ็นติเมตร
1000 เซ็่นติเมตร. หาหน่วยเป็นนิ้ว. เอา 1000 ซม. หารด้วย 2.54 จะได้ = 393.7 นิ้ว

10 นิ้ว.หาหน่วยเป็นเซ็นติเมตร. เอา 10 นิ้ว x 2.54 จะได้ = 25.4 เซ็นติเมตร
10 ซม.หาหน่วยเป็นมิลลิเมตร. เอา 10 ซม. x 10 จะได้ = 100 มิลลิเมตร

การตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพิมพ์
  
 โรงพิมพ์ที่ใหญ่หรือเล็กนั้นไม่สำคัญ เท่ากับความสามารถของบุคลากรที่บริการลูกค้า
ตั้งแต่ขั้นตอนแรกถึงขั้นตอนสุดท้ายว่ามีความสามารถหรือไม่ 
เช่น ดูตั้งแต่การรับโทรศัพท์ว่า พนักงานขายในโรงพิมพ์ที่รับโทรศัพท์ตั้งใจบริการลูกค้าขั้นไหน 
ไม่เลือกบริการลูกค้า ให้ความสำคัญลูกค้าทุกๆรายเท่าๆกันไม่ว่ารายใหญ่ที่มีชื่อเสียง 
หรือลูกค้ารายย่อยที่เพิ่งเปิดบริษัท หรือไม่มีชื่อเสียง หรือ บุคคลธรรมดาที่สนใจจะทำงานพิมพ์ 
การรับงานถามรายละเอียดครบถ้วนหรือไม่ และพนักงานที่มีความรู้จะคอยแนะนำ
ในการทำงานพิมพ์ให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าได้งานที่ถูกและคุณภาพดีและได้ผลประโยชน์สูงสุด 
และมีบริการส่งถึงที่หรือไม่ การบริการที่ดีไม่ควรให้ลูกค้าไปรับเอง ควรจะไปส่งถึงบริษัท หรือ 
สถานที่นัดส่ง หรือที่บ้าน ตามที่ลูกค้าสะดวกให้ โรงพิมพ์ไปส่ง

ลูกค้าทุกรายที่มีจุดประสงค์จะใช้บริการโรงพิมพ์เรา ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ 
ต้องได้รับความเอาใจใส่จากพนักงานขาย จนกระทั่งพนักงานส่งของต้องบริการสุภาพเรียบร้อย เพื่อลูกค้าทุกท่านจะได้มีความสุขกับการร่วมงานกับทางโรงพิมพ์เรา 

การบริการของโรงพิมพ์เราในการทำงานมีขั้นตอนดังนี้ 
1.เสนอราคา ทาง แฟกซ์ หรือ อีเมลล์ ตามที่ลูกค้าสะดวก 
2.รับใบสั่งซื้อ (เปิดPO หรือ เซ็นใบเสนอราคากลับก็ได้)
3.รับค่ามัดจำงานพิมพ์50% (สำหรับลูกค้าครั้งแรก)
4.รับไฟล์งานถึงที่ หรือ ทาง อีเมลล์ หรือทาง เซิฟเวอร์ 
5.ทำปรุฟดิจิตอล ให้ตรวจตัวหนังสือ รูปแบบ และขนาด (ยังสามารถแก้ไขได้)
6.ทำปรุฟจริงให้ตรวจ เพื่อตรวจดูสีก่อนพิมพ์จริง 
(ไม่สามารถแก้ไขเรื่องรูปแบบได้ แต่สามารถปรับสีให้เข้มขึ้นหรืออ่อนลงได้)
7.เริ่มผลิตงาน และ ตรวจให้เป็นไปตามใบปรุฟจริง 
8.ตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนส่งให้ลูกค้า และ บรรจุห่อให้สวยงานพร้อมรายละเอียดปะหน้าห่อสำหรับดูจำนวน วันที่ผลิต ครั้งที่ผลิต ขนาด และ คุณภาพสินค้า 
9.ส่งสินค้าให้ลูกค้าถึงสถานที่ ตามสถานที่ที่ลูกค้าต้องการให้ไปส่ง 
เช่น โรงงาน ออฟฟิต นอกสถานที่ หรือ บ้าน  ทางโรงพิมพ์เรา จะบริการส่งฟรีในเขต กรุงเทพ และ ปริมณฑล ไม่จำกัดน้ำหนัก
ถ้าต่างจังหวัด จะมีบริการส่งไปรษณี เป็นพัสดุ หรือ EMS ตามลูกค้าสะดวก 
แต่คิดราคาตามจริงที่ทางไปรษณีคิดค่าใช้จ่าย 
หรือ ถ้าสินค้ามีน้ำหนักมากๆและอยู่จังหวัดใกล้เคียง จะมีรถกระบะไปส่งถึงที่ โดยคิดราคาย่อมเยา หรือ บริการฟรี แล้วแต่สถานที่และจังหวัด 
10.ถ้าเป็นลูกค้าประจำ จะมีระบบเครดิตให้ลูกค้า 30 วัน

ปัญหาที่พบกับโรงพิมพ์ทั่วไป 
ทำสินค้าไม่ได้คุณภาพ และไม่รับผิดชอบ ซึ่งจะไม่เกิดกับทางเรา 
เพราะของเรามีขั้นตอนการส่งปรุฟและให้ลูกค้าเซ็นสรุปแบบเรียบร้อย ถ้าทางโรงพิมพ์ของเราผลิตงานพิมพ์ออกมาแล้วไม่ได้คุณภาพตามที่ลูกค้าสรุปและเซ็นปรุฟมา ทางโรงพิมพ์ ยินดีผลิตให้ใหม่ หรือ ยินดีคืนเงินค่ามัดจำที่ลูกค้าจ่ายไว้

ชนิดของกระดาษ 
การจำแนกกระดาษสามารถจัดแบ่งได้หลายวิธี ในที่นี้จะจัดแบ่งชนิดของกระดาษ
ที่ใช้ในวงการพิมพ์ ซึ่งสามารถรวบรวมได้ดังนี้ 

กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำเยื่อจากกระดาษ
ใช้แล้วมาผสมด้วย กระดาษปรู๊ฟมีน้ำหนักเพียง 40 – 52 กรัม/ตารางเมตร มีสีอมเหลือง ราคาไม่แพงแต่ความ
แข็งแรงน้อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก

กระดาษแบ้งค์ (Bank Paper) เป็นกระดาษบางไม่เคลือบผิว น้ำหนักไม่เกิน 50 กรัม/ตารางเมตร มีสีให้เลือกหลายสี ใช้สำหรับงานพิมพ์แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มีสำเนาหลายชั้น
กระดาษปอนด์ (Bond Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีที่ผ่านการฟอกและอาจมีส่วนผสมของเยื่อที่มาจากเศษผ้า มีสีขาว ผิวไม่เรียบ น้ำหนักอยู่ระหว่าง 60 – 100 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องความสวยงามปานกลาง พิมพ์สีเดียวหรือหลายสีก็ได้

กระดาษอาร์ต (Art Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และเคลือบผิวให้เรียบด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน การเคลือบอาจจะเคลือบมันเงาหรือแบบด้านก็ได้ มีสีขาว น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 160 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความสวยงาม งานพิมพ์สอดสี 
เช่นแคตตาล็อก โบร์ชัวร์ 

กระดาษฟอกขาว (Woodfree Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และฟอกให้ขาว เป็นกระดาษที่มีคุณภาพและมีความหนาแน่นสูง การดูดซึมน้อย ใช้สำหรับงานพิมพ์หนังสือ กระดาษพิมพ์เขียน
กระดาษเหนียว (Kraft Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อซัลเฟต (เยื่อใยยาวที่ผลิตโดยใช้สารซัลเฟต) จึงมีความเหนียวเป็นพิเศษ มีสีเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 180 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ กระดาษห่อของ ถุงกระดาษ

กระดาษการ์ด (Card Board) เป็นกระดาษที่มีความหนาและแข็งแรงประกอบด้วยชั้นของกระดาษหลายชั้น ชั้นนอกสองด้านมักเป็นสีขาว แต่ก็มีการ์ดสีต่าง ๆ ให้เลือกใช้ บางชนิดมีผิวเคลือบมันเรียบ ซึ่งเรียก กระดาษอาร์ตการ์ด น้ำหนักกระดาษการ์ดอยู่ระหว่าง 110 – 400 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำปกหนังสือ บรรจุภัณฑ์ที่มีราคา เช่นกล่องเครื่องสำอาง

กระดาษกล่อง (Box Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อบด และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสม มีสีคล้ำไปทางเทาหรือน้ำตาล ผิวด้านหนึ่งมักจะประกบด้วยชั้นของกระดาษขาวซึ่งอาจมีผิวเคลือบมันหรือไม่ก็ได้เพื่อความสวยงามและพิมพ์ภาพลงไปได้ หากเป็นกระดาษไม่เคลือบ จะเรียก กระดาษกล่องขาว หากเป็นกระดาษเคลือบผิวมัน จะเรียก กระดาษกล่องแป้ง น้ำหนักกระดาษกล่องอยู่ระหว่าง 180 – 600 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เช่น กล่อง ป้ายแข็ง ฯลฯ
กระดาษแข็ง (Hard Board) เป็นกระดาษหลายชั้นแข็งหนาทำจากเยื่อไม้บดและเยื่อกระดาษเก่า มีผิวขรุขระสีคล้ำ มีคำเรียกกระดาษชนิดนี้อีกว่า กระดาษจั่วปัง น้ำหนักมีตั้งแต่ 430 กรัม/ตารางเมตรขึ้นไป ใช้ทำใส้ในของปกหนังสือ ฐานปฏิทินตั้งโต๊ะ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ

กระดาษแฟนซี (Fancy Paper) เป็นคำเรียกโดยรวมสำหรับกระดาษที่มีรูปร่างลักษณะของเนื้อและผิวกระดาษที่ต่างจากกระดาษใช้งานทั่วไป บางชนิดมีการผสมเยื่อที่ต่างออกไป บางชนิดมีผิวเป็นลายตามแบบบนลูกกลิ้งหรือตะแกรงที่กดทับในขั้นตอนการผลิต มีสีสันให้เลือกหลากหลาย มีทั้งกระดาษบางและหนา ประโยชน์สำหรับกระดาษชนิดนี้สามารถนำไปใช้แทนกระดาษที่ใช้อยู่ทั่วไป ตั้งแต่นามบัตร หัวจดหมาย ไปจนถึงกล่องบรรจุภัณฑ์

กระดาษอื่น ๆ นอกจากกระดาษชนิดต่าง ๆ ที่เอ่ยมาข้างต้นแล้ว ยังมีกระดาษชนิดอื่น ๆ อีก เช่น กระดาษถนอมสายตา กระดาษกันปลอม (Security Paper) กระดาษเอ็นซีอาร์ (Carbonless Paper) กระดาษสังเคราะห์ กระดาษสติ๊กเกอร์ ฯลฯ

มาตรฐานขนาดของกระดาษ 
      เนื่องจากมีการใช้กระดาษกันอย่างกว้างขวาง จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานของขนาดกระดาษขึ้นนอกเหนือจากการกำหนดมาตรฐาน
ด้านอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อสะดวกต่อการใช้งานและการสื่อสารกัน ตลอดจนการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน

มาตรฐานของขนาดกระดาษ ISO 216

    มาตรฐานขนาดกระดาษในระบบ ISO 216ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีพื้นฐานแนวคิดมาจากมาตรฐานระบบ German DIN 476 จุดเด่นของมาตรฐานนี้คือเมื่อนำกระดาษที่มีขนาดตามที่กำหนดไว้มาพับครึ่ง ขนาดของกระดาษที่พับแล้วยังคงมีสัดส่วน (อัตราส่วนของด้านสูงกับด้านกว้าง) เดียวกับขนาดก่อนพับ และหากพับครึ่งไปอีก ขนาดใหม่ก็ยังคงมีสัดส่วนเดียวกันหมด ประโยชน์ทีได้คือเมื่อนำกระดาษไปตัดแบ่งไปใช้งานตามมาตรฐานนี้ จะไม่เกิดการเสียเศษหากมีงานที่ต้องการย่อส่วน เพื่อให้ได้ผลตามที่หลักการที่กำหนด ได้มีการคำนวณและพบว่าอัตราส่วนความสูงหารด้วยความกว้างจะเท่ากับ สแควร์รูทของสอง (1.4142) และยังพบว่าระยะความกว้าง, ความสูงของขนาดพับครึ่งแล้วจะลดลงเป็น 70.7% จากเดิมเสมอ

bottom of page